Login

Lost your password?
Don't have an account? Sign Up

นักอาชญาวิทยา เตือน !! สแกมเมอร์ยังคงก่อกวนหนักในปี 2022

Table of Contents

ปีใหม่แล้ว แต่นักต้มตุ๋นทั้งหลายก็ยังใช้แผนเดิม ๆ

Judy Yates นักอาชญาวิทยาที่อาศัยอยู่ใน Port Hueneme รวบรวมจดหมายข่าวรายเดือนเกี่ยวกับแนวโน้มการหลอกลวงล่าสุด และสำคัญที่สุดเพื่อช่วยปกป้องประชาชนจากการตกเป็นเหยื่อของพวกเขา

เริ่มต้นปี 2022 นักอาชญาวิทยาได้เน้นย้ำถึงกลโกงทางออนไลน์ที่พบบ่อยในช่วงหลังๆ

นักต้มตุ๋นใช้สื่อหลายอย่าง ตั้งแต่การสนทนาแบบตัวต่อตัวไปจนถึงโทรศัพท์ ข้อความ และอีเมล ใช้เทคนิคที่หลากหลาย อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเป็นกลโกงรูปแบบไหน พวกมันถูกออกแบบมาเพื่อหลอกลวงเอาข้อมูลส่วนตัวและเข้าถึงเงินในบัญชีธนาคาร หรือกระเป๋าเงินของเหยื่อ

 นอกจากการล่อลวง “ที่มีอะไรที่ฟังดูดีเกินกว่าจะเป็นจริง” กลโกงทางออนไลน์ยังมีรูปแบบอื่น ๆ ให้ต้องระวัง เช่น การขอให้มีการชำระเงินในรูปของบัตรของขวัญ สกุลเงินดิจิทัล หรือการโอนเงินผ่านธนาคาร

สัญญาณเตือนที่มักพบ ได้แก่ การเรียกร้องให้เหยื่อมีการตอบรับ หรือตัดสินใจในทันที มีการขอข้อมูลระบุตัวบุคคล และขอเงินล่วงหน้าเพื่อรับรางวัลหรือจ่ายเงินให้คนที่เหยื่อไม่เคยพบมาก่อน

นักอาชญาวิทยา พบว่าการหลอกลวงที่พบบ่อยที่สุดมักอยู่ในหมวดหมู่เหล่านี้ ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นพร้อมกันเสมอไป

  1. เจ้าหน้าที่ปลอม บุคคลที่มีกลโกงแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ เช่น ตัวแทนจากประกันสังคม กรมสรรพากรหรือหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายในท้องถิ่น หรือธุรกิจ เช่น ธนาคารหรือบริษัทบัตรเครดิต นักโจรกรรมมักบอกว่ามีบางอย่างผิดปกติในบัญชีของคุณ และข่มขู่ที่จะดำเนินการกับคุณหากคุณไม่ชำระเงินหรือให้ข้อมูลส่วนบุคคล เช่น หมายเลขบัตรเครดิต

  2. การชิงโชค รางวัล ของขวัญ และล็อตเตอรี่ นักต้มตุ๋นจะบอกว่าคุณถูกรางวัลและสามารถรับได้หากคุณจ่ายภาษีและหรือค่าธรรมเนียมการจัดส่งให้นักต้มตุ๋น “จงจำไว้ว่าการขอเงินล่วงหน้าเพื่อรับรางวัลเป็นสิ่งผิดกฎหมาย”

  3. ความโรแมนติกหรือความเห็นอกเห็นใจ นักต้มตุ๋นใช้อารมณ์ดึงดูดเพื่อให้ได้รับความไว้วางใจหรือความเห็นอกเห็นใจ เพียงเพื่อขอเงินในภายหลัง พวกเขากล่าวว่าพวกเขาต้องการเงินทุนสำหรับกรณีฉุกเฉิน ตกทุกข์ได้ยาก หรืออยู่ในปัญหาทางกฎหมาย แต่จริง ๆ แล้วพวกเขาต้องการความเห็นอกเห็นใจของเหยื่อในการหลอกลวง รวมไปถึงเรื่องรัก ๆ ใคร่ ๆ ออนไลน์ นักต้มตุ๋นมักมีเหตุผลหรือข้อแก้ตัวที่จะไม่มาพบกับเหยื่อด้วยตนเอง

  4. คอมพิวเตอร์ การฉ้อโกงเกิดขึ้นเมื่อผู้ใช้งานคลิกที่โฆษณาปรากฏขึ้น (pop-up) หรือดาวน์โหลดไฟล์ที่มีไวรัส (virus) หรือมัลแวร์ (malware) อยู่ในนั้น ซึ่งบางครั้งทำให้คอมพิวเตอร์ค้างและแสดงหมายเลขโทรศัพท์เพื่อขอความช่วยเหลือ ซึ่งเป็นแนวทางในการเข้าถึงคอมพิวเตอร์ของเหยื่อในระยะไกลและขโมยข้อมูลส่วนบุคคล

  5. ประกันภัย กลโกงเหล่านี้มักจะเกิดจากนักตุ้มตุ๋นเตือนเป้าหมายว่าการรับประกันรถของพวกเขากำลังจะหมดอายุหรือมีโอกาสที่จะขยายการรับประกันได้โดยสิทธิพิเศษต่าง ๆ

  6. รูปแบบกลโกงโดยการขายสินค้าทางอินเทอร์เน็ต ผู้วางแผนสร้างร้านค้าปลีกออนไลน์ที่ดูเหมือนจริงเพื่อขายสินค้า แต่กลับใช้เพื่อเก็บเกี่ยวข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลทางการเงิน ที่พบบ่อยเกี่ยวกับกลโกงนี้ คือ ผู้ที่หลอกลวงขายหน้ากาก N95 ที่ฉ้อโกง หรือชุดทดสอบ COVID ปลอม

ในประเทศไทย กรณีโดยกลโกงจากสแกมเมอร์ทางออนไลน์ให้ทำการแจ้งความกับสถานีตำรวจในท้องที่ที่มีการโอนเงินพร้อมหลักฐานทั้งหมดที่เจ้าทุกข์ได้รวบรวมไว้ในทันที

ที่มา : https://www.vcstar.com

 

สามารถติดตามเราได้ตาม Social Media ต่าง ๆ เพื่อรับข้อมูลข่าวสารและเทคนิคคอมพิวเตอร์ดี ๆ จาก KODEFIX ได้ที่

Line : @kodefixth

Facebook Page : KODEFIXThailand

Blockdit : www.blockdit.com/kodefix

Blogger : kodefix.blogspot.com

Website : kodefix.com